หน่วยที่ 8 รูปภาพในข้อความ

การนำภาพมาใส่ในเอกสาร
    การนำภาพมาใส่ในเอกสารของ Word มีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสีย ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำภาพใช้งาน

ในกรณีที่เปิดแถบเครื่องมือ   Picture  (รูปภาพ)  ขึ้นมาแล้ว  นักเรียนอาจแทรกภาพได้อีกวิหนึ่งโดยคลิกปุ่ม     Insert  Picture  บนเครื่องมือได้

วิธีที่  2 โดยใช้  Clip  Organizer

                Clip  Organizer   คือโปรแกรมย่อยของชุด  Office  ที่เก็บภาพสำเร็จรูป , ภาพถ่าย , เสียงภาพเคลื่อนไหวหรือวิดีโอ   ตลอดจนไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดียต่างๆ  ซึ่งเรียกรวมว่า  คลิป  เอาไว้โปรแกรม Clip  Organizer   นี้  ช่วยให้นักเรียนจัดการกับคลิปที่มีอยู่ในเครื่องได้ง่ายขึ้น  เช่น  จัดแยกคลิปเป็นหมวดหมู่   เพิ่มคลิป   ลบคลิป  หาไฟล์จากคำใด ๆ  ตลอดจนสร้าง  Collection  ของไฟล์คลิปไว้เป็นหมวดหมู่ของนักเรียนเอง    รวมถึงการใส่คำสำคัญเพื่อช่วยในการหาไฟล์คลิปได้สะดวกขึ้นสำหรับการใส่ภาพจาก  Clip  Organizer  ทำได้ดังนี้

1. คลิกที่   Organize  clips…  (จัดระเบียบภาพตัดปะ)  บนทาสก์เพนของ Clip  Art 
2. ในวินโดวส์  Microsoft   Clip  Organizer   ทางด้านซ้ายจะแสดง  Collection  List   
(รายการคอลเลกชัน)   ส่วนทางด้านขวาจะแสดงรายชื่อรูปภาพจากคอลเลกชันที่เลือกทางด้านซ้ายโปรแกรมจะแบ่งคอลเลกชันออกดังนี้
- My  Collections   คอลเลกชันรูปภาพในเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักเรียน  โดยจะแสดง
โฟลเดอร์ที่มีไฟล์รูปภาพเก็บอยู่
-  Office  Collections  คอลเลกชันรูปภาพที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับโปรแกรม Office  2003 
- Web  Collections    คอลเลกชันรูปภาพที่เก็บอยู่เว็บไซต์  Office  Online  ของ
ไมโครซอฟต์บนอินเทอร์เน็ต 
3. คลิกที่ลูกศรข้างรูปแล้วเลือกคำสั่ง  Copy  (คัดลอก)
4. คลิกปุ่ม (ปิด)  เมื่อใหม่ต้องการใช้ Clip  Organizer  แล้ว
5. คลิกขวาในเอกสารตรงตำแหน่งที่จะวางภาพ  แล้วเลือกคำสั่ง  Paste  (วาง)
ในขั้นที่   3  นักเรียนอาจคลิกที่รูปค้างไว้แล้วลากมาวางบนเอกสารได้เลย
                ถ้านักเรียนจะหาภาพที่มีสไตล์หรือโทนการใช้สีแบบเดียวกับภาพที่เลือกไว้ให้คลิกปุ่มลูกศรด้านขวาของภาพนั้นแล้วเลือกคำสั่ง  Find  Similar  Style   (หาแบบที่เหมือนกัน)
- โปรแกรมจะติดตั้งรูปไว้ที่ Clip  Organizer    ในโฟล์เดอร์ชื่อ  “คลิปที่ดาวน์โหลดมา” โดยจะแยกรูปไว้เป็นกลุ่ม










จัดเก็บภาพลงในคอลเลกชันส่วนตัว


















1. เลือก  File - New  Collection   (แฟ้ม - คอลเลกชันใหม่)
2. กำหนดชื่อในช่อง  Name  (ชื่อ)
3. คลิกเลือกกลุ่มที่จะสร้างคอลเลกชันใหม่ได้กลุ่มนั้น
4. คลิก OK  (ตกลง)
5. คลิกโฟลเดอร์ที่มีภาพที่จะย้ายไปเก็บในคอลเลกชันใหม่ที่สร้างไว้
6. คลิกปุ่มลูกศรของรูปที่ต้องการแล้วเลือก  Copy  to  Collection  (คัดลอกไปที่คอลเลกชัน)
7. คลิกเลือกคอลเลกชันปลายทางที่จะนำรูปไปไว้
8. คลิก OK  (ตกลง)
ถ้าเลือก  Move  to  Collection  (ย้ายไปที่คอลเลกชัน)  จะไม่ใช่การย้ายตำแหน่งที่ใช้จัดเก็บ
ไฟล์รูปภาพนั้นจริงๆ  แต่เป็นการจัดกลุ่มภาพเพื่อให้การค้นหาทำได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
ใส่คำสำคัญ  (Keyword)  ให้กับแต่ละภาพ
            ในการหาภาพด้วยการป้อนคำแล้วให้โปรแกรมหาภาพที่ตรงกับคำนั้น   แต่ละภาพจะต้องมีความสำคัญ หรือ  Keyword   กำกับไว้ด้วย   ซึ่งอาจมีมากกว่า  1 คำก็ได้ ถ้าคำที่ป้อนตรงกับคำสำคัญของภาพใด   ภาพนั้นก็จะถูกเลือกให้แสดงออกมา  โดยปกติคลิปอาร์ตที่มากับโปรแกรมจะถูกกำหนดคำสำคัญมาแล้ว   ยกเว้นคลิปที่เป็นของนักเรียนเอง   ซึ่งหากนักเรียนต้องการให้โปรแกรมหาคลิปที่นักเรียนหามาเองด้วยคำใดๆ  ได้  ก็ควรจะใส่สำคัญให้คลิปนั้นด้วย   โดยมีวิธีการดังนี้








             


1. คลิกปุ่มลูกศรข้าง  รูป  แล้วเลือก  Edit  Keywords   (แก้ไขคำสำคัญ)
2. ป้อนคำสำคัญในช่อง  Keyword   (คำสำคัญ)
3. คลิกปุ่ม Add (เพิ่ม)
4. ทำซ้ำข้อ  2-3  จนเพิ่มคำสำคัญครบตามต้องการแล้วคลิก  OK  (ตกลง)











































































การลดขนาดไฟล์ภาพ
                 ในบางครั้งภาพที่นักเรียนนำมาใส่ในเอกสารอาจเป็นภาพที่ขนาดไฟล์ใหญ่เกินความจำเป็น จึงทำให้ไฟล์เอกสารมีขนาดใหญ่ไปด้วย นักเรียนอาจเลือกลดขนาดของภาพลงเพื่อให้เหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้ ซึ่งอาจลดความละเอียดของภาพลงหรือลบส่วนที่นักเรียนซ่อนไว้ (Crop) หรือเลือกทำทั้ง 2 แบบ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
                  คลิกเลือกภาพที่จะลดขนาด หรือถ้าจะเลือกหลายรูป ให้กดปุ่ม <Shift> ค้างไว้แล้วคลิกเลือกที่ละรู






- คลิกปุ่ม Compress Pictures (บีบอัดรูปภาพ)
- เลือกว่าต้องการลดขนาดให้กับรูปภาพใดบ้าง
- Selected pictures (รูปภาพที่เลือก) ลดขนาดให้รูปภาพที่คลิกเลือกไว้เท่านั้น
- All Pictures in document (รูปภาพทั้งหมดในเอกสาร) ลดขนาดของรูปภาพทั้งหมดในเอกสาร
- เลือกความละเอียดของภาพลง โดยกำหนดว่าต้องการนำภาพไปใช้ในงานใด
- ถ้าใช้สร้างเว็บเพจหรือเปิดดูทางคอมพิวเตอร์ก็ให้เลือก Web/Screen (เว็บ/หน้าจอ) ซึ่งโปรแกรมจะกำหนดให้ภาพมีความละเอียดที่ 96 dpi  (dot per inch)
- ถ้าต้องการพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ทั่วไปก็เลือกที่ Print  (การพิมพ์) ซึ่งจะใช้ค่าความละเอียดที่ 200  dpi ซึ่งโปรแกรมจะลดรายละเอียดของภาพลงเพื่อให้ขนาดของไฟล์ภาพเล็กลง (รายละเอียดภาพจะลดลงเล็กน้อย แต่ขนาดที่แสดงในเอกสารจะเท่าเดิม)
- สำหรับ  No Change (ไม่มีการเปลี่ยนแปลง) คือ ไม่มีการเปลี่ยนค่าความละเอียดของภาพ
- เลือกว่าจะลดขนาดไฟล์ลง ให้คลิก Compress Pictures (บีบอัดรูปภาพ)
- หรือถ้าจะลบส่วนของภาพที่ครอบตัด (crop) ไว้ออกไปอย่างถาวร ให้เลือก Delete cropped areas of raptures (ลบพื้นที่ครอบตัดรูปภาพ)
- คลิกปุ่ม Ok (ตกลง)
                ในครั้งแรกที่นักเรียนใช้งานโปรแกรมจะแจ้งว่าโปรแกรมจะต้องลดขนาดของภาพลง ให้นักเรียนคลิกปุ่ม Apply เพื่อยืนยันการลดขนาดภาพลง
- ถ้าไม่ต้องการให้แสดงข้อความนี้อีกให้คลิก Don’t show me this warning again (อย่าแสดงคำเตือนนี้อีก)










ใส่ข้อความลายน้ำ
1. เลือกคำสั่ง  Format – Background - Printed   Watermark   (รูปแบบ - พื้นหลัง พิมพ์ลายน้ำ)
2. คลิกที่  Text  Watermark   (ลายน้ำข้อความ)  เพื่อใส่ข้อความเป็นลายน้ำ
3. กำหนดตัวเลือกเพิ่มเติม
- Text  (ข้อความ)  เลือกข้อความที่ต้องการ  เช่น  ห้ามทำสำเนา
- Font  (แบบอักษร)  เลือกฟอนต์ข้อความ
- Size   (ขนาด)  ขนาดของข้อความ
- Color  (สี)  สีข้อความ   และเลือก  Semitransparent    (กึ่งโปร่งใส)
- Layout    (เค้าโครง)  เลือกการวางข้อความ  Diagonal   วางแบบเส้นทแยง  ,  Horizontal   วางแนวนอน
4. คลิกปุ่ม OK (ตกลง)

คำถาม  หน่วยที่ 8
1. ภาพที่ต้องแสดงเพียงบางส่วนเพื่ออะไร
ก. เพื่อจุด
ข. เพื่อปิดบางส่วน
ค. เพื่อเปิดบางส่วน
ง. เพื่อเน้นเฉพาะบางจุด
2. ภาพที่นำมาใส่ในเอกสารมีกี่ลักษณะ
ก. 2
ข. 3 
ค. 4
ง. 5
3. จุดสีเหลี่ยมหรือวงกลมเล็กๆ รอบรูปนั้นมีกี่จุด
ก. 2
ข. 6
ค. 8
ง. 10
4. ระดับชั้นแบ่งออกเป็นกี่ระดับ
ก. 4
ข. 6
ค. 8
ง. 10
5. การนำภาพจากคลิปอาร์ตเข้้ามาใส่ในเอกสาร สามารถทำได้โดย
ก. เมนู lnsert - Picture - Form File
ข. เมนู lnsert - Clip Art - Picture
ค. เมนู  nsert - Clip - Videos
ง. เมนู lnsert - Picture - Clip Art 



เฉยล 1.ง,2.ก,3.ค,4.ก,5.ง